ปรับกล้ามเนื้อตา
Ptosis Correction

เทคนิคการผ่าตัดลงลึกถึงชั้นกล้ามเนื้อ แก้ไขปัญหากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ตาปรือ หนังตาหย่อนลงมาเพื่อยกระดับกล้ามเนื้อตา และปรับให้ได้รูปซึ่งต้องใช้ความละเอียดสูงและซับซ้อนมากซึ่งปัญหานี้ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการศัลยกรรมตาสองชั้นเพียงอย่างเดียว
สาเหตุของภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

1. เป็นมาแต่กำเนิด (Congenital ptosis)
กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงที่เป็นมาแต่กำเนิด จะมีเปลือกตาตกตั้งแต่เด็ก ตกแค่ข้างเดียว หรือเป็นทั้ง 2 ข้าง อาจเกิดจากความผิดปกติในการทำงานของกล้ามเนื้อ
3. อุบัติเหตุหรือการผ่าตัดตาสองชั้นที่ผิดพลาด
การเกิดอุบัติเหตุที่ได้รับการกระทบกระเทือนบริเวณสมองที่มีเส้นประสาทที่ควบคุมกล้ามเนื้อตา หรือการผ่าตัดกับแพทย์ที่ไม่มีความเชี่ยวชาญก็ส่งผลให้เกิดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงในภายหลังได้
2. อายุมากขึ้น (Involutional ptosis)
เมื่ออายุมากขึ้น กล้ามเนื้อตาจะยืดและเปลือกตาตกลงมา แต่การใช้ชีวิตประจำวันของเราก็มีส่วนสำคัญอย่างมาก ในผู้ที่มีอาการภูมิแพ้ขึ้นตา ขยี้ตาบ่อยๆ หรือมีการใส่ คอนแทคเลนส์ หรือบิ๊กอายเป็นระยะเวลานาน ก็ส่งผลให้กล้ามเนื้อตายืดได้เช่นกัน
4.การหลั่งสารสื่อประสาทหรือเส้นประสาทที่เลี้ยงกล้ามเนื้อตาผิดปกติ หรือชนิดที่เรียกว่า โรค MG
มีอาการหนังตาตกไม่เท่ากันในแต่ละเวลา อาการดีขึ้นเมื่อได้หลับตาพัก หรือช่วงเช้าหลังจากตื่นนอน ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงชนิดนี้ ไม่ควรได้รับการผ่าตัดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง เมื่อแพทย์สงสัยภาวะนี้ จะมีการตรวจเพิ่มเติมเพื่อวินิจฉัย และการรักษาตามแนวทางที่ถูกต้อง เป็นโรคที่ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้

1. เป็นมาแต่กำเนิด (Congenital ptosis)
กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงที่เป็นมาแต่กำเนิด จะมีเปลือกตาตกตั้งแต่เด็ก ตกแค่ข้างเดียว หรือเป็นทั้ง 2 ข้าง อาจเกิดจากความผิดปกติในการทำงานของกล้ามเนื้อ
2. อายุมากขึ้น (Involutional ptosis)
เมื่ออายุมากขึ้น กล้ามเนื้อตาจะยืดและเปลือกตาตกลงมา แต่การใช้ชีวิตประจำวันของเราก็มีส่วนสำคัญอย่างมาก ในผู้ที่มีอาการภูมิแพ้ขึ้นตา ขยี้ตาบ่อยๆ หรือมีการใส่ คอนแทคเลนส์ หรือบิ๊กอายเป็นระยะเวลานาน ก็ส่งผลให้กล้ามเนื้อตายืดได้เช่นกัน
3. อุบัติเหตุหรือการผ่าตัดตาสองชั้นที่ผิดพลาด
การเกิดอุบัติเหตุที่ได้รับการกระทบกระเทือนบริเวณสมองที่มีเส้นประสาทที่ควบคุมกล้ามเนื้อตา หรือการผ่าตัดกับแพทย์ที่ไม่มีความเชี่ยวชาญก็ส่งผลให้เกิดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงในภายหลังได้
4.การหลั่งสารสื่อประสาทหรือเส้นประสาทที่เลี้ยงกล้ามเนื้อตาผิดปกติ หรือชนิดที่เรียกว่า โรค MG
มีอาการหนังตาตกไม่เท่ากันในแต่ละเวลา อาการดีขึ้นเมื่อได้หลับตาพัก หรือช่วงเช้าหลังจากตื่นนอน ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงชนิดนี้ ไม่ควรได้รับการผ่าตัดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง เมื่อแพทย์สงสัยภาวะนี้ จะมีการตรวจเพิ่มเติมเพื่อวินิจฉัย และการรักษาตามแนวทางที่ถูกต้อง เป็นโรคที่ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้


1. หากอาการไม่รุนแรงมาก
แพทย์จะใช้วิธียกกระชับกล้ามเนื้อตา โดยการเย็บให้สูงขึ้นจนได้ระดับ และอาจมีการกรีดหนังตาร่วมด้วย เพื่อให้ได้ชั้นตาที่สวยงามคงทน
2. หากมีอาการรุนแรง และเรื้อรังมานาน
แพทย์อาจต้องใช้กล้ามเนื้อหน้าผากเข้ามาช่วย โดยเย็บให้ติดกับขอบตา เพื่อช่วยดึงเปิดเปลือกตาให้กว้างขึ้น

ลักษณะของอาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
- ตาปรือ ดูง่วงนอนตลอดเวลา
- ตา 2 ข้างขนาดไม่เท่ากัน
- หนังตาตกจากอายุที่มากขึ้น
- หนังตาตกจากกรรมพันธุ์
ระดับความรุนแรงของภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
ระดับเริ่มต้น (ระดับที่ 1)
สังเกตุได้จากขอบของเปลือกตาบนปิด คลุมตาดำลงมาเกินระดับขอบ 2 มิลลิเมตร ซึ่งอาจเป็นอาการแรก ที่คุณพบเมื่อมีภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเริ่มเกิดขึ้น
ระดับกลาง (ระดับที่ 2)
ขอบของเปลือกตาบนปิดคลุมตาดำลง มาเกินกว่า 3 มิลลิเมตร ซึ่งเป็นสัญญาณที่ชัดเจนว่ามีภาวะกล้าม เนื้อตาอ่อนแรงที่มีความรุนแรงกลาง
ระดับรุนแรง (ระดับที่ 3)
และในระดับสุดท้าย คุณจะเห็นว่าขอบ ของเปลือกตาบนปิดคลุมตาดำลงมาเกิน 4 มิลลิเมตร ซึ่งบ่งบอกถึง ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงที่รุนแรงที่สุด

ลักษณะของอาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
- ตาปรือ ดูง่วงนอนตลอดเวลา
- ตา 2 ข้างขนาดไม่เท่ากัน
- หนังตาตกจากอายุที่มากขึ้น
- หนังตาตกจากกรรมพันธุ์
ระดับความรุนแรงของภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
ระดับความรุนแรง
ของภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
ระดับเริ่มต้น (ระดับที่ 1)
สังเกตุได้จากขอบของเปลือกตาบนปิด คลุมตาดำลงมาเกินระดับขอบ 2 มิลลิเมตร ซึ่งอาจเป็นอาการแรก ที่คุณพบเมื่อมีภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเริ่มเกิดขึ้น
ระดับกลาง (ระดับที่ 2)
ขอบของเปลือกตาบนปิดคลุมตาดำลง มาเกินกว่า 3 มิลลิเมตร ซึ่งเป็นสัญญาณที่ชัดเจนว่ามีภาวะกล้าม เนื้อตาอ่อนแรงที่มีความรุนแรงกลาง
ระดับรุนแรง (ระดับที่ 3)
และในระดับสุดท้าย คุณจะเห็นว่าขอบ ของเปลือกตาบนปิดคลุมตาดำลงมาเกิน 4 มิลลิเมตร ซึ่งบ่งบอกถึง ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงที่รุนแรงที่สุด